วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อห้ามเฉพาะสำหรับการสร้างบ้านทรงไทย





ข้อห้ามเฉพาะสำหรับการสร้างบ้านทรงไทยตามลัทธิไสยศาสตร์ ประเพณี และความเชื่ออันมีอิทธิพลต่อขวัญของบุคคล ซึ่งความเชื่อลัทธิดังกล่าว บางอย่างมีเหตุผลสมควร บางอย่างหาสาเหตุยังไม่พบ หรือไม่มีเหตุผลอธิบาย


     ปัจจุบันข้อห้ามหรือความเชื่อบางอย่าง มีเหตุผลอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์ และบางอย่างก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ ทำให้บางคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้อห้ามเหล่านี้ อย่างไรก็ก็ยังคนมีผู้ให้ความสำคัญกับข้อห้ามเหล่านี้อยู่เช่นกัน

ข้อห้ามเฉพาะสำหรับการสร้างบ้านทรงไทย พอจะรวบรวมเป็นข้อห้ามเฉพาะการสร้างบ้านได้ดังนี้

บันไดห้ามใช้จำนวนขั้นคู่ (ต้องเป็นขั้นคี่นับเฉพาะขั้น ไม่นับพื้นหรือชานพัก)
บันไดไม่ลงไปทางทิศตะวันตก
ไม่หันหัวนอนไปทางทิศตะวันตก
ไม่ทำน้ำพุน้ำตกไหลเข้าตัวเรือน (ตึก)
ไม่ปลูกต้นหางนกยูง ต้นลั่นทม ต้นโศก ตรุษจีนฯ
ไม่ทำทางเข้าลอดใต้ห้องน้ำส้วม
ไม่ทำอาคารรูปตัว "ที" มีปีกเท่ากันสองข้างเรียก "แร้งกระพือปีก" ถือเป็นอัปมงคล
ไม่ทำเรือนทะลุหน้าตลอดหลังถือว่าเป็น "เรือนอกแตก" เป็นอัปมงคล
ไม่ทำภูเขาจำลองไว้ในบ้าน
ห้ามใช้ไม้ตะเคียน ไม้มะค่าในการปลูกเรือน
ห้ามใช้เสาตกน้ำมัน
ห้ามทำทางเข้าออกคู่ไว้ตอนมุมของพื้นดินที่ทางสามแพร่งหรือสี่แยก
ห้ามทำภาพยักษ์ไว้ในบ้าน
ห้ามทำหนังใหญ่หรือหนังตะลุงไว้ในบ้าน
ห้ามใช้ช่อฟ้า ใบระกา - เครื่องวัด - เครื่องหลวง หรือมีเครื่องประดับชั้นสูงในบ้าน
ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ
ห้ามตั้งศาลพระภูมิใต้เงาเรือน
ไม่ปลูกต้นมะละกอใกล้ตัวเรือน
ห้ามทำบันไดเวียนซ้ายขาขึ้น
ไม่ปลูกบ้านใต้ต้นไม้ใหญ่
ห้ามมิให้มีสัตว์ตกตายในหลุมตอม่อ
ห้ามใช้เสาไม้มีตาในระยะ "เป็ดไซ้ ไก่ตอด สลัก รอด หมู่สี"
ห้ามวางรูปพื้นเรือนในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงรูโลงศพ
ห้ามทำเตียงนอนขาสิงห์ เครื่องใช้ขาสิงห์ (ซึ่งเทียมเจ้านาย)
ห้ามนำศพออกประตูเรือน หรือลงบันไดบ้าน (ให้ออกทางด้านฝาหุ้มกลอง เพราะสะดวกในการเคลื่อนศพฝาหุ้มกลองถอดออกและประกอบใหม่ได้)
ห้ามนำของวัดเข้าบ้านหรือมาประกอบเป็นส่วนของบ้าน
ห้ามทำทางเข้าเวียนซ้ายของอาคาร ฯลฯ



"นก ขตต ปฏิมาเนนต อตโถพาล อุปจจคา อตโถ อตถสส นกขตตกึ กริสสนติ ตารกา" ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่เพราะประโยชน์เป็นฤกษ์ของ ประโยชน์เอง ดาวทั้งหลายจักทำอะไรได้
ขอบคุณข้อมูล
http://www.bansongthai.com/




ต้องทำอย่างไร ? เมื่ออยากสร้างบ้านทรงไทย

ต้องทำอย่างไร ? เมื่ออยากสร้างบ้านทรงไทย
 
 

จะสร้างบ้านทรงไทยสักหลัง...จะต้องทำอะไรบ้าง ? ปัจจุบัน หากท่านต้องการมีบ้านทรงไทยไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปและไม่ไกลเกินฝัน เรามีคำแนะนำให้ท่านว่าการจะสร้างบ้านทรงไทยสักหลังจะต้องทำอะไรบ้าง ท่านที่ต้องการมีบ้านทรงไทยเป็นผู้มีความชอบและหลงใหลเสน่ห์ของบ้านทรงไทย เป็นผู้ที่ต้องการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประจำชาติไทยของเรา


บ้านทรงไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อย่างไรก็ตามการสร้างบ้านทรงไทยนั้นไม่ใช่ว่าเพียงแต่นำโฉนดที่ดินมาพร้อม กับกำเงินมาให้ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านทรงไทย ก็จะสามารถนั่งรอบ้านทรงไทยในฝันหลังใหม่ได้ แต่ถ้าหากหัวใจมันจะเรียกร้องบ้านทรงไทยในฝันซักหลังเพื่อเป็นบ้านในฝัน เป็นเรือนรับรองพักผ่อน หรือต้อนรับแขก ลูกค้าต่างประเทศ หรือจัดทำเป็นบ้านแสดงสินค้าแบบไทยๆ หรือจะเป็นสถานที่อื่นๆใดก็ตาม เราจะต้องดูว่า การสร้างบ้านทรงไทยซักหลัง สิ่งต่างๆ ที่ท่านจะต้องดำเนินการเองนั้น มีวิธีการเป็นอย่างไรบ้าง ?

1. วางแผนและเตรียมพื้นที่และแบบบ้าน

ก่อนอื่นท่านต้องวางแผนก่อนว่าต้องการบ้านแบบใด มีพื้นที่ใช้สอยแบบใดและเตรียมพื้นที่ที่ทำการปลูกสร้างบ้านทรงไทยอย่างไร และคิด concept ของแบบบ้าน ต้องการให้เริ่มสร้างเมื่อไรและแล้วเสร็จเมื่อไร การสร้างบ้านทรงไทยต้องดูฤกษ์ดูยามด้วยในการปลูกด้วย

1.1 ท่านต้องดูว่าที่ดินท่านมีลักษณะอย่างไร? มี สาธารณูปโภคเข้าถึงหรือไม่ ? หากไม่มี ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง น้ำประปา ไฟฟ้า ทางระบายน้ำ และถนนหนทาง ฯลฯ โดยน้ำประปาและไฟฟ้า สามารถที่จะขอแบบ ชั่วคราวก่อนได้ ที่ดินของท่านถมแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ถม ควรจะถมให้เหนือระดับถนนเล็กน้อย

1.2 ถามใจของท่านและครอบครัวดูก่อนว่า

- ชอบบ้านทรงไทยรูปแบบไหน ตัวอย่างเช่น บ้านทรงไทยเดิม, บ้านทรงไทยภาคกลาง,บ้านทรงไทยภาคเหนือ บ้านทรงไทยภาคอีสาน หรือบ้านทรงไทยแบบประยุกต์ เป็นต้น และ Concept วัตถุประสงค์ต้องการใช้เป็นสถานที่สำหรับทำอะไร เช่น ที่พักถาวร เป็นศาลา เป็นบ้านพักรีสอร์ท Home Stay เป็นบ้านรับรองลูกค้า เป็นร้านอาหาร เป็นที่แสดงสินค้า หรืออื่นๆ

- ต้องการองค์ประกอบของบ้านทรงไทยแบบไหน มีห้องต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ กี่ห้อง มีระเบียง มีชานนอก มีหอนก หรือบันไดแบบไหน ที่สำคัญคือกว้างยาวเท่าไร เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเรา ซึ่งเราต้องมีรูปแบบในใจของเราแล้ว

- พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดแบบคร่าวๆ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้

1.3 ขั้นตอนการทำแบบบ้านทรงไทยเพื่อนำมาก่อสร้าง ทำได้ 2 กรณีคือ

- เลือกแบบบ้านทรงไทยให้สอดคล้องกับที่ดินที่มีอยู่ โดยไทย โทร.มาคุยกับทีมงานของเรา BanSongThai.com หรือโทร.มาที่คุณน้อย 01-556-1520 หรือคุณบัญชา 01-852-9238 เรา มีบริการทั้งแบบบ้านทรงไทยและรับปรุงประกอบบ้านทรงไทยทุกแบบทุกไสตล์ เราสร้างบ้านทรงไทยเป็นอาชีพ เรามีสถาปนิกออกแบบบ้านทรงไทยและมีช่างที่ชำนาญงาน วิธีนี้ท่านจะได้แบบบ้านทรงไทยในฝัน สำหรับผู้รับสร้างบ้านทรงไทยปัจจุบัน มีไม่มากเนื่องจากวิธีการสร้างทรงไทย ไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียน จะใช้วิธีถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ผู้ที่ออกแบบบ้านทรงไทยจึงยังมีน้อย

- คุยกับสถาปนิกโดยตรงในการออกแบบหรือหาแบบบ้านทรงไทยจากแบบสำเร็จรูปจาก หนังสือ โดยทั่วไปแล้วสถาปนิกที่ออกแบบบ้านทรงไทยโดยตรงค่อนข้างหายาก หากจ้างออกแบบให้ตรงกับกับความต้องการแล้วค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่า

1.4 เมื่อท่านตกลงกับสถาปนิก หรือผู้รับเหมาเรื่องแบบบ้านทรงไทยเรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจะเริ่มลงมือเขียนแบบร่างเป็นแบบก่อสร้างที่ใช้ในงานก่อสร้างจริง หรือ ที่เรียกว่าแบบพิมพ์เขียวที่ท่านคงเคยเห็นในงานก่อสร้างกันมาบ้าง ลักษณะเป็นสีเขียวออกฟ้าซึ่งแบบพิมพ์เขียวนี้ จะเป็นแบบที่มีรายละเอียดในการก่อสร้างทั้งหมด โดยจะได้รับประมาณ 6 ชุด

2. ขั้นตอนยื่นแบบเพื่อขออนุญาต

การติดต่อเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร จะมีได้ 2 กรณี คือ

2.1 ปลูกบนที่ดินของตัวเอง จะต้องใช้เอกสารดังนี้

- คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือ รื้อถอนอาคาร
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
- สำเนาทะเบียนสมรส ( ถ้ามี )
- สำเนาโฉนดที่ดิน ขนาดเท่าตัวจริง (ถ่ายเอกสารทุกหน้า)
- หนังสือรับรองพร้อมสำเนาบัตรผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรงานก่อสร้างและสถาปนิกผู้ออกแบบ
- หนังสือมอบอำนาจผู้ขออนุญาต ( ในกรณีให้ผู้อื่นกระทำแทน ) แล้วก็ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
- บันทึกเจ้าหน้าที่ กรณีที่ ที่ดินติดที่สาธารณะ หรือแนวเวนคืน

2.2 เช่าที่ดินของผู้อื่นปลูกสร้าง

หรือชื่อผู้ขออนุญาตกับชื่อเจ้าของที่ดินไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกัน
- เอกสารเหมือนในข้อ ที่ผ่านมาทุกประการ
- สิ่งที่เพิ่มเติมคือ หนังสือรับรองให้ทำการก่อสร้างในที่ดิน โดยที่เจ้าของที่ดินเซ็นต์ยินยอมให้ปลูกสร้างในที่ดินได้

หลังจากที่ได้เอกสารต่างๆครบแล้ว ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับสำนักงานเขตหรือ ถ้าเป็นต่างจังหวัดให้ติดต่อที่ อบต. พร้อมกับแบบบ้านทรงไทยที่จะปลูกสร้างจำนวน 5 ชุด จากนั้น เจ้าหน้าที่เขตจะนัดเพื่อรอฟังผล ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนี้เจ้าของบ้านจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

3. ติดต่อ BanSongThai.com เพื่อทำการก่อสร้างบ้านทรงไทย

หลังจากที่ท่านได้ยื่นแบบก่อสร้างกับทางเขตหรือ อบต. แล้ว ช่วงระยะเวลานี้ท่านก็มาติดต่อกับเรา BaSongThai.com ผู้เชี่ยวชาญบ้านทรงไทย (โทร. มาที่คุณ น้อย 081-556-1520) เพื่อ ให้ทางทีมงานของเราไปตีราคาค่าก่อสร้าง และกำหนดระยะเวลาในการ ก่อสร้างทั้งหมด และเมื่อทางเขตหรือ อบต. ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างได้ ทีมงานช่างของบ้านทรงไทยดอทคอมก็จะสามารถลงมือก่อสร้างได้ทันที

ปกติแล้วทางทีมงาน BanSongThai.com จะออกแบบ เขียนแบบ ตีราคาและกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างให้เบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียวกัน และมีการพูดคุยและตกลงกับเจ้าของบ้านให้แน่ชัดก่อนเซ็นสัญญาและลงมือก่อ สร้าง

4. ช่วงเวลาที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง

ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่เจ้าของบ้านจะต้องเอาใจใส่ด้วยและมีการพูดคุยกับ ผู้รับเหมาสร้างบ้านทรงไทย ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นทุกอย่างรวมถึงการเปลี่ยนแบบหรือเปลี่ยนสเปค ซึ่งจะทำให้งบประมาณที่บานปลาย งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะมีการตกลงกันอย่างไรเจ้าของบ้านจะต้องตรวจดูการวาง ผัง การตรวจงานก่อสร้างสเปควัสดุก่อสร้าง ท่านจะต้องดูแลควบคุมใน จุดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ละเอียด จนกว่าบ้านทรงไทยจะเสร็จเป็นรูปเป็นร่างที่ สมบูรณ์ เพราะว่าหลังจากที่ผู้รับเหมามอบบ้านทรงไทยให้แล้ว จะเป็นเรื่องไม่ง่ายมากนักที่จะมาแก้ไขให้ท่านในภายหลัง ควรมีการตกลงกันว่าจะให้มีการรับประกันอย่างไรด้วย จากนั้นจะเป็นเรื่องของการขออนุญาตการติดตั้ง น้ำประปา-ไฟฟ้าถาวร โทรศัพท์และ เลขที่บ้าน ก็เป็นอันเสร็จสิ้น สำหรับบ้านทรงไทยในฝันของท่าน


ที่มา  http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/1/45/185.html

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

บ้านพักทรงไทย






บ้านพักทรงไทย

สถาปัตยกรรมไทยเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนภาพ ชีวิตแบบไทย ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อม โดยเฉพาะในเรื่อง "บ้าน" หรือ "เรือน" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผูกพันมาตั้งแต่เกิด แม้ว่าปัจจุบันการดำเนินชีวิตและรูปลักษณ์ของบ้านจะแปรเปลี่ยนไป แต่หากมองกันอย่างลึกซึ้งแล้ว ชีวิตในบ้านของคนไทยยังไม่เคยเปลี่ยน ซึ่งค่านิยมบางประการยังคงดำเนินการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บ้านมิได้มีความหมายเพียงเป็นที่อาศัยนอนในตอนกลางคืนและออกไปทำงานตอนเช้า เท่านั้น แต่บ้านคือที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่มีชีวิตชีวา มีความรักและความอบอุ่นเป็นที่พึ่งในทุกโมงยามที่ต้องการ
      บ้านจึงเป็นที่ที่คนอยากให้เป็นสิ่งที่ดีที่ สุดในชีวิตสิ่งหนึ่ง บ้านไทยหรือเรือนไทยในความคิดของคนทั่วไปคงเป็นภาพบ้านไทยภาคกลาง ที่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง มีหลังคาแหลมสูงชัน ประดับด้วยตัวเหงา มีหน้าต่างบานสูงรอบ ๆ ตัวบ้านอาจเป็นบ้านเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบ้านก็ได้
      ลักษณะของบ้านไทยดังกล่าวชี้ชัดให้เห็นถึง ภูมิปัญญาของคนโบราณ ทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ ที่ปลูกบ้านเพื่อนประโยชน์และความต้องการใช้สอย และแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัย เป็นแบบบ้านที่สวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
      บ้านไทย จึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของชาติและเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจ คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและอยู่ในเขตมรสุม จึงมีฝนตกชุกในหน้าฝน บางทีหรือเกือบทุกปีจะเกิดน้ำท่วม คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำสวน ทำนา ทำไร่ ทำประมง แม่น้ำลำคลองจึงเปรียบเสมือนเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงชีวิต ที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งพักผ่อน และเป็นเส้นทางคมนาคม 






คนไทยภาคกลางจึงนิยมปลูกบ้านอยู่ริมฝั่งน้ำสายเล็กสายน้อย เมื่อยามน้ำหลากน้ำก็จะไหลท่วมบ้านเรือน คนไทยแต่ก่อนไม่รู้จักการถมที่ดินหนีน้ำท่วม จึงปลูกบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งให้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งช่วยให้ลมผ่านสะดวก ทั้งเพื่อความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย หรือคนร้ายในยามค่ำคืน และยังเป็นการป้องกันน้ำท่วมถึงตัวบ้านอีกด้วย ใต้ถุนบ้านนี้ในยามปกติอาจใช้เป็นที่สันทนาการของครอบครัวคือ เป็นที่พักผ่อน หรือที่เล่นของเด็ก ๆ หรือใช้รวมกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทอผ้า ตั้งเตาหรือกระทะทำขนมกวนต่าง ๆ และไว้เก็บสิ่งของทั้งใหญ่และเล็ก ยามเมื่อน้ำหลากมาก็ย้ายสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จากใต้ถุนขึ้นไว้บนตัวเรือน ใต้ถุนที่ยกสูงนี้ นิยมให้สูงกว่าระดับศีรษะคนยืน เพื่อให้เดินได้สะดวก



ดังที่กล่าวแล้วว่าประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน แสงแดดจัดจ้า อากาศโดยทั่วไปจึงร้อนถึงร้อนจัด โดยเฉพาะในหน้าร้อน บ้านจึงเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัย ภูมิปัญญาของการปลูกบ้านไทยคือ การออกแบบให้เป็นหลังคาทรงสูง เพื่อให้อากาศภายในเบาลอยตัวอยู่ ขณะที่ความร้อนจะถ่ายเทสู่ตัวบ้านหรือภายในห้องได้อย่างช้า ๆ เนื่องจากระยะความสูงของหลังคาทำให้ภายในตัวบ้านเย็นสบาย แม้จะมีห้องและฝากั้น แต่ก็มีพื้นที่เพียง 40% ที่เหลืออีก 60% เป็นชานเปิดโล่ง ทำให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ทั้งลมจากใต้ถุนสูงที่พัดขึ้นมาข้างบนก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สายลมเย็นจะพัด ผ่านในบ้านตลอดเวลา

ลักษณะอีกอย่างหนึ่งของบ้านไทยที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการแก้ปัญหา อากาศร้อนคือ การสร้างชายคาหรือไขรา ให้ยื่นยาวออกคลุมตัวบ้านมากกว่าบ้านทรงยุโรป เป็นการป้องกันแดดไม่ให้เผาฝาบ้านให้ร้อน ป้องกันฝนสาด แดดส่อง ห้องจะได้เย็นตลอดทั้งวัน       องค์ประกอบอื่น ๆ ที่ทำให้บ้านไทยเป็นบ้านที่ร่มเย็นคือ "ความโปร่ง" ซึ่งเกิดจากการออกแบบฝาบ้านให้มีอากาศผ่านได้ เช่น ใช้ฝาสำหรวด หรือฝาขัดแตะ หน้าจั่วของบ้านทำเป็นช่องโปร่งให้ลมผ่านได้
      ลักษณะเด่นชัดอีกประการของบ้านไทยคือ รูปทรงบ้านที่มีระเบียบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน จะแลเห็นได้ตั้งแต่ชานหน้าเรือน ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งรับลม คนนั่งจากชานเรือนจะมองเห็นมุมกว้าง ทำให้รู้สึกโล่งโปร่งใจโปร่งตา ถัดจากชานเข้ามาเป็นระเบียงที่ใช้รับรองแขก จัดงานตามประเพณีนิยม หรือคติทางศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระ โกนจุก แต่งงาน ตากอาหารแห้ง และที่นอนชานมักใช้ปลูกไม้กระถาง วางอ่างน้ำ ปลูกตะโกดัดและบอนไซ ซึ่งคนแต่ก่อนนิยมปลูกต้นไม้ใส่กระถางไว้เชยชม และอาจจัดมุมใดมุมหนึ่งของนอกชานในที่ลับตาคนเป็นที่อาบน้ำก็ได้
      ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อไป ลักพาตัวนางวันทองเมียรักกลับคืนมานั้น บรรยายบรรยากาศบนชานเรือนของขุนช้าง ซึ่งเป็นคหบดีเมืองสุพรรณไว้น่าดูนัก อ่านแล้วรู้สึกรื่นรมย์ บอกไม่ถูกทีเดียว
โจนลงกลางชานร้านดอกไม้
ของขุนช้างสร้างไว้อยู่ดาษดื่น
รวยรสเกสรเมื่อค่อนคืน
ชื่นชื่นลมชายสบายใจ
กระถางแถวแก้วเกตพิกุลแกม
ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว
สมอรัดตัดทรงสมละไม
ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน
ตะโกนาทั้งกิ่งประกับยอด
แทงทวยทอดอินพรหมนมสวรรค์
บ้าวผลิดอกออกช่ออยู่ชูชัน
แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา
ยี่สุ่นกุหลาบมะลิซ้อน
ซ้อนชู้ชูกลิ่นถวิลหา
ลำดวนยวนใจให้ไคลคลา
สายหยุดหยุดช้าแล้วยืนชม
ถัดถึงกระถางอ่างน้ำ
ปลาทองว่ายคล่ำเคล้าคลึงสม
พ่นน้ำดำลอยถอยจม
น่าชมชักคู่อยู่เคียงกัน
      หากมีพื้นที่รอบ ๆ บ้าน ก็นิยมปลูกไม้ใหญ่หลายชนิดไว้ให้ร่มเงา เรือนบางหลังยังเปิดช่องตรงกลางชานไว้ปลูกไม้ยืนต้น เพื่อให้ร่มเงาบริเวณชานเรือนอีกด้วย





 ฝีมือช่างไทยที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งที่ปรากฎในเรือนไทยคือ การไม่ใช้ตะปู แต่จะตรึงติดด้วยลิ้นไม้เข้าเดือย ตั้งแต่การตรึงติดของจั่วและคาน จนถึงการทำบันไดบ้าน ในการปลูกบ้านไทยยังแฝงคติความเชื่อของเรื่องการวางทิศทาง การให้ความสำคัญของไม้แต่ละชิ้นที่ใช้ ซึ่งมีพิธีทำขวัญเสาสำหรับผีที่ปกปักรักษาต้นไม้ที่ถูกตัดมา การเรียกชื่อไม้ที่เป็นโครงสร้างบ้านก็เรียกด้วยความเคารพ ซึ่งแสดงถึงการให้เกียรติและให้ความสำคัญต่อทุกสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัว และทั้งหมดนี้เกิดจากลุ่มลึก และภูมิปัญญาของช่างโบราณของไทยอย่างแท้จริง

ที่มา http://www.ku.ac.th/e-magazine/may48/know/home.html



Copyright © 2014 บ้านพักทรงไทย