วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

ต้องทำอย่างไร ? เมื่ออยากสร้างบ้านทรงไทย

ต้องทำอย่างไร ? เมื่ออยากสร้างบ้านทรงไทย
 
 

จะสร้างบ้านทรงไทยสักหลัง...จะต้องทำอะไรบ้าง ? ปัจจุบัน หากท่านต้องการมีบ้านทรงไทยไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปและไม่ไกลเกินฝัน เรามีคำแนะนำให้ท่านว่าการจะสร้างบ้านทรงไทยสักหลังจะต้องทำอะไรบ้าง ท่านที่ต้องการมีบ้านทรงไทยเป็นผู้มีความชอบและหลงใหลเสน่ห์ของบ้านทรงไทย เป็นผู้ที่ต้องการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประจำชาติไทยของเรา


บ้านทรงไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อย่างไรก็ตามการสร้างบ้านทรงไทยนั้นไม่ใช่ว่าเพียงแต่นำโฉนดที่ดินมาพร้อม กับกำเงินมาให้ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านทรงไทย ก็จะสามารถนั่งรอบ้านทรงไทยในฝันหลังใหม่ได้ แต่ถ้าหากหัวใจมันจะเรียกร้องบ้านทรงไทยในฝันซักหลังเพื่อเป็นบ้านในฝัน เป็นเรือนรับรองพักผ่อน หรือต้อนรับแขก ลูกค้าต่างประเทศ หรือจัดทำเป็นบ้านแสดงสินค้าแบบไทยๆ หรือจะเป็นสถานที่อื่นๆใดก็ตาม เราจะต้องดูว่า การสร้างบ้านทรงไทยซักหลัง สิ่งต่างๆ ที่ท่านจะต้องดำเนินการเองนั้น มีวิธีการเป็นอย่างไรบ้าง ?

1. วางแผนและเตรียมพื้นที่และแบบบ้าน

ก่อนอื่นท่านต้องวางแผนก่อนว่าต้องการบ้านแบบใด มีพื้นที่ใช้สอยแบบใดและเตรียมพื้นที่ที่ทำการปลูกสร้างบ้านทรงไทยอย่างไร และคิด concept ของแบบบ้าน ต้องการให้เริ่มสร้างเมื่อไรและแล้วเสร็จเมื่อไร การสร้างบ้านทรงไทยต้องดูฤกษ์ดูยามด้วยในการปลูกด้วย

1.1 ท่านต้องดูว่าที่ดินท่านมีลักษณะอย่างไร? มี สาธารณูปโภคเข้าถึงหรือไม่ ? หากไม่มี ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง น้ำประปา ไฟฟ้า ทางระบายน้ำ และถนนหนทาง ฯลฯ โดยน้ำประปาและไฟฟ้า สามารถที่จะขอแบบ ชั่วคราวก่อนได้ ที่ดินของท่านถมแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ถม ควรจะถมให้เหนือระดับถนนเล็กน้อย

1.2 ถามใจของท่านและครอบครัวดูก่อนว่า

- ชอบบ้านทรงไทยรูปแบบไหน ตัวอย่างเช่น บ้านทรงไทยเดิม, บ้านทรงไทยภาคกลาง,บ้านทรงไทยภาคเหนือ บ้านทรงไทยภาคอีสาน หรือบ้านทรงไทยแบบประยุกต์ เป็นต้น และ Concept วัตถุประสงค์ต้องการใช้เป็นสถานที่สำหรับทำอะไร เช่น ที่พักถาวร เป็นศาลา เป็นบ้านพักรีสอร์ท Home Stay เป็นบ้านรับรองลูกค้า เป็นร้านอาหาร เป็นที่แสดงสินค้า หรืออื่นๆ

- ต้องการองค์ประกอบของบ้านทรงไทยแบบไหน มีห้องต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ กี่ห้อง มีระเบียง มีชานนอก มีหอนก หรือบันไดแบบไหน ที่สำคัญคือกว้างยาวเท่าไร เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเรา ซึ่งเราต้องมีรูปแบบในใจของเราแล้ว

- พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดแบบคร่าวๆ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้

1.3 ขั้นตอนการทำแบบบ้านทรงไทยเพื่อนำมาก่อสร้าง ทำได้ 2 กรณีคือ

- เลือกแบบบ้านทรงไทยให้สอดคล้องกับที่ดินที่มีอยู่ โดยไทย โทร.มาคุยกับทีมงานของเรา BanSongThai.com หรือโทร.มาที่คุณน้อย 01-556-1520 หรือคุณบัญชา 01-852-9238 เรา มีบริการทั้งแบบบ้านทรงไทยและรับปรุงประกอบบ้านทรงไทยทุกแบบทุกไสตล์ เราสร้างบ้านทรงไทยเป็นอาชีพ เรามีสถาปนิกออกแบบบ้านทรงไทยและมีช่างที่ชำนาญงาน วิธีนี้ท่านจะได้แบบบ้านทรงไทยในฝัน สำหรับผู้รับสร้างบ้านทรงไทยปัจจุบัน มีไม่มากเนื่องจากวิธีการสร้างทรงไทย ไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียน จะใช้วิธีถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ผู้ที่ออกแบบบ้านทรงไทยจึงยังมีน้อย

- คุยกับสถาปนิกโดยตรงในการออกแบบหรือหาแบบบ้านทรงไทยจากแบบสำเร็จรูปจาก หนังสือ โดยทั่วไปแล้วสถาปนิกที่ออกแบบบ้านทรงไทยโดยตรงค่อนข้างหายาก หากจ้างออกแบบให้ตรงกับกับความต้องการแล้วค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่า

1.4 เมื่อท่านตกลงกับสถาปนิก หรือผู้รับเหมาเรื่องแบบบ้านทรงไทยเรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจะเริ่มลงมือเขียนแบบร่างเป็นแบบก่อสร้างที่ใช้ในงานก่อสร้างจริง หรือ ที่เรียกว่าแบบพิมพ์เขียวที่ท่านคงเคยเห็นในงานก่อสร้างกันมาบ้าง ลักษณะเป็นสีเขียวออกฟ้าซึ่งแบบพิมพ์เขียวนี้ จะเป็นแบบที่มีรายละเอียดในการก่อสร้างทั้งหมด โดยจะได้รับประมาณ 6 ชุด

2. ขั้นตอนยื่นแบบเพื่อขออนุญาต

การติดต่อเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร จะมีได้ 2 กรณี คือ

2.1 ปลูกบนที่ดินของตัวเอง จะต้องใช้เอกสารดังนี้

- คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือ รื้อถอนอาคาร
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
- สำเนาทะเบียนสมรส ( ถ้ามี )
- สำเนาโฉนดที่ดิน ขนาดเท่าตัวจริง (ถ่ายเอกสารทุกหน้า)
- หนังสือรับรองพร้อมสำเนาบัตรผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรงานก่อสร้างและสถาปนิกผู้ออกแบบ
- หนังสือมอบอำนาจผู้ขออนุญาต ( ในกรณีให้ผู้อื่นกระทำแทน ) แล้วก็ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
- บันทึกเจ้าหน้าที่ กรณีที่ ที่ดินติดที่สาธารณะ หรือแนวเวนคืน

2.2 เช่าที่ดินของผู้อื่นปลูกสร้าง

หรือชื่อผู้ขออนุญาตกับชื่อเจ้าของที่ดินไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกัน
- เอกสารเหมือนในข้อ ที่ผ่านมาทุกประการ
- สิ่งที่เพิ่มเติมคือ หนังสือรับรองให้ทำการก่อสร้างในที่ดิน โดยที่เจ้าของที่ดินเซ็นต์ยินยอมให้ปลูกสร้างในที่ดินได้

หลังจากที่ได้เอกสารต่างๆครบแล้ว ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับสำนักงานเขตหรือ ถ้าเป็นต่างจังหวัดให้ติดต่อที่ อบต. พร้อมกับแบบบ้านทรงไทยที่จะปลูกสร้างจำนวน 5 ชุด จากนั้น เจ้าหน้าที่เขตจะนัดเพื่อรอฟังผล ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนี้เจ้าของบ้านจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

3. ติดต่อ BanSongThai.com เพื่อทำการก่อสร้างบ้านทรงไทย

หลังจากที่ท่านได้ยื่นแบบก่อสร้างกับทางเขตหรือ อบต. แล้ว ช่วงระยะเวลานี้ท่านก็มาติดต่อกับเรา BaSongThai.com ผู้เชี่ยวชาญบ้านทรงไทย (โทร. มาที่คุณ น้อย 081-556-1520) เพื่อ ให้ทางทีมงานของเราไปตีราคาค่าก่อสร้าง และกำหนดระยะเวลาในการ ก่อสร้างทั้งหมด และเมื่อทางเขตหรือ อบต. ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างได้ ทีมงานช่างของบ้านทรงไทยดอทคอมก็จะสามารถลงมือก่อสร้างได้ทันที

ปกติแล้วทางทีมงาน BanSongThai.com จะออกแบบ เขียนแบบ ตีราคาและกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างให้เบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียวกัน และมีการพูดคุยและตกลงกับเจ้าของบ้านให้แน่ชัดก่อนเซ็นสัญญาและลงมือก่อ สร้าง

4. ช่วงเวลาที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง

ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่เจ้าของบ้านจะต้องเอาใจใส่ด้วยและมีการพูดคุยกับ ผู้รับเหมาสร้างบ้านทรงไทย ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นทุกอย่างรวมถึงการเปลี่ยนแบบหรือเปลี่ยนสเปค ซึ่งจะทำให้งบประมาณที่บานปลาย งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะมีการตกลงกันอย่างไรเจ้าของบ้านจะต้องตรวจดูการวาง ผัง การตรวจงานก่อสร้างสเปควัสดุก่อสร้าง ท่านจะต้องดูแลควบคุมใน จุดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ละเอียด จนกว่าบ้านทรงไทยจะเสร็จเป็นรูปเป็นร่างที่ สมบูรณ์ เพราะว่าหลังจากที่ผู้รับเหมามอบบ้านทรงไทยให้แล้ว จะเป็นเรื่องไม่ง่ายมากนักที่จะมาแก้ไขให้ท่านในภายหลัง ควรมีการตกลงกันว่าจะให้มีการรับประกันอย่างไรด้วย จากนั้นจะเป็นเรื่องของการขออนุญาตการติดตั้ง น้ำประปา-ไฟฟ้าถาวร โทรศัพท์และ เลขที่บ้าน ก็เป็นอันเสร็จสิ้น สำหรับบ้านทรงไทยในฝันของท่าน


ที่มา  http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/1/45/185.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2014 บ้านพักทรงไทย